วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติคลองดำเนินสะดวก

  พระบาทมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชดำริ เมื่อปี พ.ศ.2409 (ร.ศ. 89 ปีขาล อัฐศก ร.ศ.85 จ.ศ.1228) เห็นว่าการคมนาคมที่ไปมาระหว่างกรุงเทพฯ สมุทรสาครมีคลองภาษีเจริญที่ทำการสัญจรไปมาได้สะดวกดี แต่ถ้ามีคลองระหว่างกรุงเทพฯ สมุทรสงคราม และราชบุรีก็จะสะดวกขึ้นอีกเป็นอันมาก โดยที่อาศัยแม่น้ำแม่กลองเป็นสื่อกลางเมื่อเป็นคลองได้ การไปมาหาสู่ โดยทางน้ำก็จะมีความสามารถและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
               ในปี พ.ศ.2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่พระสมุหกลาโหม เมื่อครั้งยังพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระปราสาทสิทธิ์ เป็นผู้อำนวยการขุดคลองที่เชื่อมจากแม่น้ำท่าจีนเริ่มจากปากคลองบางยาง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กับแม่น้ำแม่กลอง ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ควบคุมดูแล และใช้กำลังของทหาร ข้าราชการ ประชาชน ตลอดจนชาวจีนที่มาอาศัยอยู่ในเมืองไทยใหม่ๆ ร่วมกันขุด การขุดดินนี้ใช้กำลังแรงงานของคนล้วนๆ โดยไม่ได้ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องทุ่นแรงอย่างอื่นเลย คนจีนสมัยนั้นส่วนมากจะไว้ผมเปีย มาเป็นผู้รับจ้างขุด หากเป็นเดือนหงาย กลางคืนจะทำการขุดดินกันทั้งคืน เมื่อทำงานกลางคืนจะนุ่งเพียงผ้าเตี่ยวผืนเดียว ขุดดินใส่ปุ้งกี๋แล้วก็หาบดินหรือแบกดินนั้น เอาดินไปทิ้งนอกเขตที่ต้องการ กลางคืนอากาศดี ไม่ร้อน ทำงานได้ดีตลอดทั้งคืนแล้วมาพักผ่อนตอนกลางวัน เอาแรงไว้ทำงานตอนกลางคืนต่อไป
                คลองดำเนินสะดวก นี้เมื่อทำการขุดเสร็จแล้ว เดิมมีความยาวมากถึง 35 กิโลเมตร เมื่อแรกขุดนั้นกว้างประมาณ 6 วา และลึก 6 ศอก  แต่นานเข้าตลิ่งถูกน้ำพัดผ่านกัดเซาะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากแรงกระทบของคลื่นเรือยนต์ประเภทต่างๆ เป็นเหตุให้คลองขุดขยายกว้างขึ้นเป็น   10 วาบ้าง 15 วาบ้าง และบางแห่งกว้างถึง 20 วาก็มี ด้วยขนาดและความยาวของคลองที่ขุด ประกอบกับเป็นคลองที่สะดวกในการเดินทางตัดตรงไปหลายพื้นที่ ทำให้มีเจ้านายผู้ใหญ่หลายคนมาจับจองที่ดินซึ่งเป็นป่ารก ดงอ้อ ดงแขมพร้อมขุดคลองน้อย คลองซอยแยกจากคลองใหญ่เพื่อเข้าสู่พื้นที่ของตน ป่าพงแขมเหล่านั้นจึงได้มีการปรับเปลี่ยนกลายเป็นเรือกสวนไร่นา ต่อมากลายเป็นผลผลิตหลักของของชาวดำเนินสะดวก ในการทำมาหาเลี้ยงชีพ และเป็นสินค้าหลักที่สำคัญของตลาดน้ำแห่งนี้ เขตคลองดำเนินสะดวก มีระยะคลองที่ยาวมาก เป็นคลองที่ตรงไม่เหมือนคลองอื่นๆ ที่คดเคี้ยวไปมา เป็นคลองที่ผ่านเขตถึง 3 อำเภอใน 3 จังหวัด คืออำเภอบ้านแพ้ว อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอบางคนที ตลอดคลอง 35 กิโลเมตร เรียกว่าคลองดำเนินสะดวก ทั้งคลองโดยแบ่งระยะด้วยการปักหลักเขตตลอดทั้งคลองมีจำนวน 8 หลักเป็นระยะดังนี้ คือ หลักศูนย์ เริ่มต้นที่ปากคลองบางยางสู่แม่น้ำท่าจีน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ห่างจากประตูน้ำบางยางประมาณ 1 ก.ม. เศษ ประตูน้ำบางยางไปจนถึงหลักที่หนึ่ง ระยะทางได้ 4 ก.ม. มีเสาหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 10 x 10 นิ้ว ปักไว้ที่พื้นดิน การเรียกชื่อสถานที่นี้คือ ระหว่างหลักศูนย์ ถึง หลักหนึ่ง ไม่มีใครเรียกกันว่า หลักศูนย์ นิยมเรียกว่า ประตูน้ำบางยาง หรือก็ว่า ปากคลองบางยาง ซึ่งอยู่ในเขต อ.กระทุ่มแบน และ อ.บ้านแพ้ว หลักที่สอง จากเสาหลักที่หนึ่ง ระยะทางน้ำยาวได้ 100 เส้น มีเสาหินเลขที่ 2 ปักไว้ เรียกว่า หลักสอง อยู่ในเขต อ.บ้างแพ้ว หลักที่สาม หลักที่สี่ ระยะทุกหลักมีระยะทางน้ำยาว 100 เส้น และมีเสาหินปักไว้1 ต้น แต่ละหลักจะสลักและเขียนสีแดงเป็น 3 ภาษา คือ เลขไทย โรมัน จีน หลักที่ห้า ระยะทางน้ำและทุกหลักอยู่ในเขต อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาครและ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี หลักที่หก หลักที่เจ็ด และในต้นเขตหลักเจ็ดนี้มีวัดหลักหกรัตนาราม ตำบลศรีสุราษฎร์ ในเขตหลักเจ็ดที่เรียกเป็นหลักหกนี้มีระยะสั้นประมาณ 50 เส้น คือตอนต้นของหลักเจ็ดและตอนปลายหลักเจ็ด ก็มีเรียกกันว่าหลักเจ็ด เป็นส่วนน้อยไม่ค่อยเรียกกัน อยู่ในเขต อ.ดำเนินสะดวก หลักที่แปด การเรียกระยะหลักต่างๆ ที่ผ่านมา รู้สึกว่าเขต หลักแปด ตอนปลายของหลัก จะเรียกชื่อกันว่า หลักแปด ก็ตอนปลายของหลัก 8 ที่มีระยะประมาณ 50 เส้น ตอนต้นไม่ค่อยเรียกกัน ซึ่งมีเขต อ.ดำเนินสะดวก ติดต่อกับ เขต ต.บางนกแขวก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม
                ตลาดน้ำที่เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกบนสายคลองขุดนี้ คือ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ปากคลองลัดราชบุรี หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า คลองลัดพลี  แต่เดิมมีชื่อเรียกกันติดปากว่า ตลาดนัดศาลาห้าห้องบ้าง ตลาดนัดศาลาแดงบ้าง หรือตลาดนัดหลักแปดบ้าง ที่เรียกดังนี้ก็ด้วยตรงจุดอันเป็นตลาดน้ำเดิมที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ให้ปลูกศาลาเป็นไม้มี 5 ห้อง หลังคนมุงกระเบื้องสีแดง สร้างให้เป็นที่พักคนงาน จุดนี้มีผู้คนหนาแน่นกว่าที่อื่นๆ ต่อมาจึงกลายเป็นตลาดนัดสำคัญแห่งหนี่งคู่กับตลาดนัดปากคลอง ซึ่งมีมาเก่าแก่ก่อนขุดคลองดำเนินสะดวก
                ตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นความภาคภูมิใจของชาวดำเนินสะดวกเปรียบได้กับของที่มีค่าประเมินราคามิได้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำรงชีวิตประจำวันของชาวดำเนินสะดวก ตลาดน้ำดำเนินสะดวกไม่เฉพาะเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับชาวดำเนินสะดวกเท่านั้นแต่เป็นวัฒนธรรมอันเก่าแก่ และเป็นมรดกอันทรงคุณค่าของประเทศไทย แม้แต่ชาวต่างชาติที่ได้มาเยี่ยมชมก็ล้วนแต่มีความชื่นชมมรดกอันทรงคุณค่านี้

งบประมาณในการขุดคลองดำเนินสะดวก
                 งบประมาณในการขุดคลองดำเนินสะดวก ใช้เวลาขุดคลองในระยะ 2 ปีเศษ ขุดคลองตั้งแต่ พ.ศ.2409 ปีขาล ใช้งบประมาณ 1,400 ชั่ง เป็นเงิน 112,000 บาท โดยเป็นเงินของ - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จำนวน 400 ชั่ง - สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ที่พระสมุหกลาโหม จำนวน 1,000 ชั่ง ถ้าเทียบเป็นเงินจากสมัยก่อน ต้องเอา 300 คูณ จะเป็นเงินได้ 33,600,000 บาท เงินในสมัยนี้มีค่ามาก ค่าแรงงานของผู้ชายวันละ 1 บาท ข้าวสารถังละ .60 สตางค์ ผ้าขาวม้าผืนละ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น